ธปท. ย้ำ เงินบาทอ่อนยังเกาะกลุ่มภูมิภาค รับเข้าดูแลแต่ไม่ฝืนตลาด

0 Comments

ธปท.มองค่าเงินบาทผันผวนจากปัจจัยต่างประเทศ ชี้ค่าเงินเคลื่อนไหวยังเกาะกลุ่มกับภูมิภาค ไม่ผิดปกติ ยันเข้าไปดูแลบางจังหวะ แต่ไม่เข้าไปฝืนกลไกตลาด

วันที่ 27 ตุลาคม 2565 ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงิน มองว่า

ที่มาของความผันผวนที่เกิดขึ้นมาจากข่าวภายนอกประเทศที่ทำให้ค่าเงินเคลื่อนไหวเยอะ สะท้อนข้อจำกัดของการดูแล เช่น เมื่อช่วง 1-2 วันก่อนที่เงินบาทแข็งค่ามาจากเรื่องของจีนและดุลการค้า (Trade Balance) ของไทยดีกว่าคาด

อย่างไรก็ดี หากดูการเคลื่อนไหวของค่าเงินที่เกิดขึ้นปัจจุบันยังคงเกาะกลุ่มภูมิภาค โดยยังไม่เห็นเงินทุนเคลื่อนย้ายที่ผิดปกติจากกลุ่ม ซึ่งค่าเงินบาท ถือว่าอ่อนค่าระดับกลาง ๆ หากเทียบกับภูมิภาค ซึ่งมีประเทศที่เคลื่อนไหวอ่อนค่านำไทย เช่น เกาหลี และไทยอ่อนกว่า เช่น มาเลเซียและอินโดนีเซีย เป็นต้น

ทั้งนี้ สิ่งที่ ธปท.ต้องการเห็นคือ การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Hedging) ของผู้ประกอบการธุรกิจเว็บหวยออนไลน์ เชื่อถือได้ขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ได้เท่าที่ ธปท.อยากเห็น ส่วนหนึ่งมาจากความคุ้นเคย และเรื่องของต้นทุนที่มีต่อผู้ประกอบการ

โดยเฉพาะเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นสิ่งที่ ธปท.พยายามหาแนวทางส่งเสริมให้เกิดการป้องกันความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ซึ่งมองว่าเรื่องของนวัตกรรม หรือ FX Ecosystem จะเข้ามาตอบโจทย์ส่วนนี้ได้ ดังนั้น ต้องทำระบบเอื้อให้โซลูชั่นต่าง ๆ เกิดขึ้น

“เราอยากเห็นเอสเอ็มอีมองการทำ Hedging เหมือนการทำประกัน แต่ผู้ประกอบการจะมองว่าส่วนต่าง Margin น้อย และเสียต้นทุนสูง ดังนั้น เราจึงต้องทำให้ต้นทุนที่ถูกลง ซึ่งมองว่า New Player เข้ามาจะช่วยเรื่องนี้ได้ แต่มองว่าสิ่งที่เราไม่ควรทำคือ การทำประกันให้ทุกคน เพื่อทำให้ค่าเงินไม่เคลื่อนไหวเลย อันนี้เราได้บทเรียนมาแล้วจากในปี’40 โดยการฝืนกลไกตลาดเพื่อช่วยลดผลกระทบจากผู้ประกอบการ

แต่การทำแบบนี้ แม้จะลดความผันผวน แต่ทำให้ความเปราะบางต่าง ๆ เพิ่มขึ้น แต่เราไม่อยากเห็นความผันผวนมาก ทำให้บางจังหวะที่ตึงเป็นพิเศษก็ต้องเข้าไปดูแลความผันผวน แต่ไม่ได้เข้าไปฝืนตลาด”

ยังไม่เปลี่ยนมุมมองเศรษฐกิจ
ภายใต้ความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ในต่างประเทศ เงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงไม่ยอมลง ซึ่งจะมีผลต่อไทยและนโยบายการเงินหรือไม่นั้น มองว่า

ภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังไม่ได้เปลี่ยนแปลง โดยปีนี้อัตราการเติบโตอยู่ที่ 3.8% และปี’66 ขยายตัว 3.3% ขณะที่ผลกระทบต่อภาคการส่งออก ประเมินปัจจัยเหล่านี้ไว้พอสมควรแล้ว โดยปีนี้คาดการส่งออกจะขยายตัว 8% และปี’66 จะขยายตัวได้ 1%

อย่างไรก็ดี ตัวที่จะกระทบและมีผลต่อเศรษฐกิจไทยคือภาคการท่องเที่ยว หากมีอะไรมากระทบจะทำให้เรามีอะไรเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งปีนี้คาดว่าตัวเลขนักท่องเที่ยวจำนวน 9 ล้านคน และปีหน้าอยู่ที่ 20 ล้านคน ส่งผลให้ภาพการฟื้นตัวยังมีอยู่

อย่างไรก็ดี หากเศรษฐกิจไม่ได้เป็นไปตามคาด เช่น เงินเฟ้อจะเข้ากรอบภายในปี’66 หรือไม่ ธปท.ก็ไม่ได้ชะล่าใจ มีการทบทวน Recheck ปัจจัยตลาด และหากตัวที่มองไว้มีการเปลี่ยนแปลง ธปท.ก็พร้อมปรับนโยบายการเงิน

“เราไม่ได้ดูข้อมูลแค่วันนี้ แต่ดูไปข้างหน้าเทียบกับที่เรามองไว้ เพราะเราจะทำนโยบายการเงินจะมีผลต้องใช้เวลา และหากดูประเทศหลักที่ขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรง ไม่ได้มองว่าของที่ใช้ไปจะต้องใช้เวลา แต่มองว่าเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น จะต้องเอาลงทันที ก็ต้องขึ้นดอกเบี้ยเพิ่ม เป็นการทำแบบ Over Act ซึ่งเงินเฟ้อเราไม่เหมือนกับเขา

ดังนั้น ความจำเป็นที่เราต้องใส่ไว้แรงเผื่อไว้ ก็ไม่ต้องทำแบบนั้น เพราะการฟื้นตัวโดย Over All ยังเป็นไปแบบที่มองไว้ และมองไปข้างหน้าก็ยังสอดคล้องกับที่คาด”