รัฐบาลแถลงใหญ่ เทหมดหน้าตัก 8 หมื่นล้าน เยียวยา 40 ล้านคน

0 Comments

ทีม ครม. เศรษฐกิจแถลงใหญ่ มาตรการเยียวยาผลกระทบจากสงครามล่าสุด คนไทย 40 ล้านชีวิต ใช้งบประมาณ 8 หมื่นล้าน

วันที่ 25 มีนาคม 2565 เวลา 13.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุพัฒน์พงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน, นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน, นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหัวหน้าหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ ร่วมแถลงรายละเอียดมาตรการการแถลงข่าวมาตรการช่วยเหลือประชาชนจากสถานการณ์ความขัดแย้งยูเครน – รัสเซีย

ทั้งนี้ สำหรับมาตรการเพื่อช่วยเหลือและลดผลกระทบต่อประชาชนในช่วงสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน มีรายละเอียดดังนี้

ผู้ใช้น้ำมันดีเซล ตรึงราคาน้ำมันดีเซลที่ 30 บาท/ลิตร ระยะเวลาเดือนเมษายน รัฐช่วยส่วนที่ราคาเพิ่มขึ้นครึ่งหนึ่ง ในเดือนเมษายน 16,800 ล้านบาท, เดือนพฤษภาคม 8,340 ล้านบาท, เดือนมิถุนายน 8,000 ล้านบาท (อัตราชดเชย 8 บาทต่อลิตร น้ำมันดีเซล 130 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล)

ระยะเวลา 3 เดือน เมษายน ตรึงที่ 30 บาท เดือนพฤษภาคม และเดือนมิถุนายน รัฐช่วยราคาส่วนที่เพิ่ม 50% ใช้แหล่งงบประมาณ จากกองทุนน้ามันเชื้อเพลง/ลดภาษีสรรพสามิต/เงินอุดหนุน

ผู้ใช้ก๊าซหุงต้ม กำหนดราคาในเดือนเมษายน 333 บาท/ถัง 15 กก. พฤษภาคม 348 บาท มิถุนายน 363บาท/ถัง 15 กก. วงเงินในเดือนเมษายน 2,400 ล้านบาท, พฤษภาคม 2,130 ล้านบาท และมิถุนายน 1,850 ล้านบาท ใช้แหล่งงบประมาณ จากกองทุนน้ามันเชื้อเพลง

ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพิ่มส่วนลดซื้อก๊าซหุงต้มอีก 55 บาท/3 เดือน รวมเป็น 100 บาท/3เดือน วงเงินที่ 200 ล้านบาท ระยะเวลา 3 เดือน ใช้แหล่งงบประมาณ จากงบกลางสำนักงบประมาณ

ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ส่วนลดซื้อก๊าซหุงต้มเดือนละ 100 บาทส่วนลดซื้อก๊าซหุงต้มเดือนละ 100 บาท ระยะเวลา 3 เดือน วงเงิน 1.65 ล้านบาท ใช้แหล่งงบประมาณจาก ปตท.

ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ส่วนลดซื้อก๊าซหุงต้มเดือนละ 100 บาท ระยะเวลา 3 เดือน วงเงิน 120 ล้านบาท ใช้แหล่งงบประมาณ จากงบกลางสำนักงบประมาณ

ผู้ใช้ก๊าซ NGV ทั่วไป คงราคาขายปลีก NGV ที่ 15.59 บาท/กิโลกรัม และผู้ขับขี่รถแท็กซี่ที่ลงทะเบียนภายใต้โครงการลมหายใจเดียวกัน คงเดิม ระยะเวลา 3 เดือน วงเงินรวม 1,761 ล้านบาท ใช้แหล่งงบประมาณจาก ปตท.

ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน ส่วนลดค่า FT (ใช้ไฟฟ้าในราคางวดเดือนมกราคม-เมษายน) ระยะเวลา 3 เดือน วงเงิน 2,000-3,500 ล้านบาท ใช้แหล่งงบประมาณ จากงบกลางสำนักงบประมาณ

ผู้ประกันตนมาตรา 33 ลดอัตราเงินสมทบ ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้ประกันตนมาตรา 33 จากเดิมฝ่ายละร้อยละ 5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน เหลือฝ่ายละร้อยละ 1 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และผู้ประกันตนมาตรา 39 ลดอัตราเงินสมทบผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จากเดิมร้อยละ 9 ของ ฐานค่าจ้าง 4,800 บาท (เดือนละ 432 บาท) เหลือร้อยละ 1.90 ของค่าจ้าง 4,800 บาท (เดือนละ 91 บาท) ระยะเวลา 3 เดือน พฤษภาคม – กรกฎาคม วงเงินรวม 33,857 ล้านบาท ใช้แหล่งงบประมาณ จากกองทุนประกันสังคม

ผู้ประกันตน มาตรา 40 ทางเลือกที่ 1 : 70 บาท ลดเหลือ 42 บาท, ทางเลือกที่ 2 : 100 บาท ลดเหลือ 60 บาทและทางเลือกที่ 3 : 300 บาท ลดเหลือ 180 บาท งวดค่าจ้างเดือนกุมภาพันธ์–กรกฎาคม (ระยะเวลา 6 เดือน) รายรับจากเงินสมทบกองทุนประกันสังคมลดลง 1,367.61 ล้านบาท คาดว่า 3 เดือนลดภาระค่าครองชีพ 84 – 360 บาท

ผู้ประกันตนมาตรา 40 กลุ่มบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ การยกระดับความช่วยเหลือส่วนลดค่าซื้อก๊าซ LPG ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอีก 55 บาทต่อคนต่อเดือน รวมเป็นเงิน 100 บาทต่อคนต่อเดือน ระยะเวลา 3 เดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม คาดว่าลดภาระค่าก๊าซหุงต้ม 165 บาท

ผู้ประกันตนมาตรา 40 กลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้าง รถจักรยานยนต์รับจ้างขึ้นทะเบียนกรมการขนส่งจํานวน 157,000 ราย ลดภาระค่าน้ำมัน 250 บาทต่อเดือน 3 เดือน คาดว่าลดภาระค่าน้ำมัน 750 บาท

สำหรับมาตรการการช่วยเหลือครั้งนี้ มีประชาชนที่ได้รับประโยชน์ไม่น้อยกว่า 40 ล้านคน เป็นกลุ่มครัวเรือนทั่วไปกลุ่มนายจ้างและผู้ประกันตนกลุ่มผู้มีรายได้น้อย และกลุ่มขนส่งโดยสารสาธารณะ

40 ล้านคน มีใครบ้าง
ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าต่ำกว่า 300 หน่วย 20 ล้านครัวเรือน
ลดค่า FT ลง 22 สตางค์ ช่วงเดือนพฤษภาคม –สิงหาคม
นายจ้างและผู้ประกันตนในมาตรา 33 จำนวน 11.2 ล้านคน
ลดอัตราเงินสมทบจากร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 1 งวดค่าจ้าง เดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม
ผู้ประกันตนในมาตรา 40 จำนวน 10.7 ล้านคน
ลดอัตราเงินสมทบเหลือ 42 –180 บาท/เดือน
ผู้ประกันตนในมาตรา 39 จำนวน 1.9 ล้านคน
ลดอัตราเงินสมทบจากร้อยละ 9 เหลือร้อยละ 1.9 งวดค่าจ้าง เดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม
ผู้ใช้ก๊าซหุงต้มที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 3,600,000 คน
เพิ่มวงเงินช่วยเหลือค่าก๊าซหุงต้มเป็น 100 บาท/3 เดือน เป็นเวลา 3 เดือน
ผู้ค้าหาบแร่แผงลอยที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 5,500 คน
ส่วนลดซื้อก๊าซหุงต้มเดือนละ 100 บาท เป็นเวลา 3 เดือน
ผู้ใช้ก๊าซ NGV ทั่วไป
คงราคาขายปลีก NGV ที่ 15.59 บาท/กก. เป็นเวลา 3 เดือน
ผู้ขับขี่จักรยานยนต์รับจ้าง จำนวน 157,000 คน
ส่วนลดค่าน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 250 บาท/เดือน เป็นเวลา 3 เดือน
ผู้ขับรถแท็กซี่ที่อยู่ในโครงการลมหายใจเดียวกัน 1.7 หมื่นคน
ได้ซื้อก๊าซในราคา 13.62 บาท/กก. ในวงเงิน 10,000 บาท/เดือน เป็นเวลา 3 เดือน
งบ 8 หมื่นล้าน จาก 4 แหล่งเงิน
กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (เงินกู้) วงเงิน 39,520 ล้านบาท
ตรึงราคานำมันดีเซลไว้ที่ 30 บาท/ลิตร
ทยอยขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม
กองทุนประกันสังคม (เงินสมทบ) วงเงิน 35,224 ล้านบาท
นายจ้างและผู้ประกันตนในมาตรา 33
ผู้ประกันตนในมาตรา 39 และ 40
สำนักงบประมาณ (งบกลาง) วงเงิน 3,740 ล้านบาท
ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าต่ำกว่า 300 หน่วย
ผู้ใช้ก๊าซหุงต้มที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)วงเงิน 1,763 ล้านบาท
ผู้ขับรถแท็กซี่ที่อยู่ในโครงการลมหายใจเดียวกัน
คงราคาขายปลีก NGV ที่ 15.59 บําท/กก
ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
รวมประมาณ 80,247 บาท

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังหารือถึงผลกระทบและแนวทางมาตรการรองรับผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซียและยูเครน ถึงผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ จากการประเมินในเบื้องต้น คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยผ่าน 2 ช่องทางหลัก

ผลกระทบต่อเงินเฟ้อ โดยกรณีที่ราคาน้้ามันดิบดูไบเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 100 เหรียญต่อบาร์เรล คาดว่าจะท้าให้อัตราเงินเฟ้อของไทยในปี 2565 จะเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 5.0
ผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว เนื่องจากแนวโน้มการลดลงของนักท่องเที่ยวรัสเซียและยุโรปซึ่งถือเป็นกลุ่มหลักที่เดินทางเข้ามาประเทศไทย
ทั้งนี้ คาดว่าผลกระทบทั้งจากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานและผลกระทบต่อการท่องเที่ยวจะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในปี 2565 ขยายตัวได้ต่้ากว่าที่คาดไว้เดิม แต่ยังเชื่อมั่นว่าจะยังสามารถขยายตัวอย่างน้อยได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3.0

แนวทางมาตรการรองรับผลกระทบ

บริหารจัดการราคาน้้ามันภายในประเทศให้สอดคล้องกับราคาน้้ามันดิบ
ดูแลค่าครองชีพประชาชนผู้มีรายได้น้อย
ดูแลกลุ่มแรงงานที่ได้รับผลกระทบ
ดูแลกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของราคาปัจจัยการผลิต
ผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นราคาน้้ามันในกรณีต่าง ๆ (เฉลี่ยทั้งปี 2565)

ราคาน้ำมันดิบดูไบ 100 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล 33 บาท/ลิตร ปริมาณการ GDP ของไทยอยู่ที่ 3.5% เงินเฟ้ออยู่ที่ 5%
ราคาน้ามันดิบดูไบ 120 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล 40 บาท/ลิตร ปริมาณการ GDP ของไทยอยู่ที่ 3.2% เงินเฟ้ออยู่ที่ 7.2%
ราคาน้ามันดิบดูไบ 150 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล 46 บาท/ลิตร ปริมาณการ GDP ของไทยอยู่ที่ 3.0% เงินเฟ้ออยู่ที่ 5%

อ้างอิง
https://www.prachachat.net/finance